แคดเมียม (Cadmium) คืออะไร อันตราย ยังไง

อาการผิดปกติหากสัมผัส..แคดเมี่ยม

วันนี้ทาง แคร์เฮลเปอร์มีเรื่องราวใกล้ตัวด้านสุขภาพ อาการ โรคภัยต่างๆมาแชร์กัน เหมือนเช่นเคยค่ะ จากหน้าข่าวที่เป็นกระแสช่วงนี้ ว่าด้วยเรื่อง กากแคดเมี่ยม

เรามาทำความรู้จัก สารอันตรายแคดเมี่ยมกัน

สารบัน
1.แคดเมียม (Cadmium) คืออะไร
2.แคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางไหน
3.ผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียม
4.อาการต่างๆ เมื่อแคดเมียมอยู่ในระดับที่อันตราย
5.แคดเมียมรักษาอย่างไร
6.วิธีป้องกันตัวเองจากแคดเมียม
7.วิธีปฐมพยาบาล 5 ข้อควรทำ หากสัมผัสสารแคดเมียม
สรุป


1.แคดเมียม (Cadmium) คืออะไร

แคดเมียม (Cadmium) เป็นโลหะหนัก มีสีขาวฟ้ามันวาว มีเนื้ออ่อน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

เช่น การชุบสังกะสี การผลิตแบตเตอรี่อัลคาไลน์ การทำเม็ดสี

แคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร

แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ขับออกจากร่างกายได้ช้าจึงเกิดการสะสมของแคดเมียมในร่างกายได้เป็นเวลานานหลายปี

ทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ หลายระบบ

แคดเมียมจะพบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ดังนั้นในการทำเหมืองสังกะสี
จะได้ แคดเมียมเป็นผลตามมาด้วย ซึ่งแคดเมียมก็จะพบได้ในอาหาร ในน้ำ ในเหมือง และในส่วนน้ำทิ้ง หรือน้ำเสีย
หรือในสีที่ผสมที่ใช้กับบ้านหรืออาคารได้อีกด้วย



2.แคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางไหน

-ทางผิวหนังผ่านการสัมผัส
-ทางจมูก ด้วยการหายใจ สูดดมฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไปในร่างกาย
-ทางปากด้วยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม เช่น
ข้าวที่ปลูกบนดินที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมอยู่ สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน
เนื้อหรือนมจากวัวที่กินหญ้าที่เกิดจากดินที่มีการปนเปื้อน



3.ผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียม

พิษเฉียบพลัน: พบในกรณีหายใจเอาไอระเหยของแคดเมียมเข้าไป ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอก


พิษเรื้อรัง: การได้รับสารแคดเมียมเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อความเป็นพิษของไต กระดูก และอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด หากสัมผัสสารนี้มาอย่างยาวนานต่อเนื่อง

สำหรับพิษต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ พิษต่อไต โดยจะมีการอักเสบที่ไต
ทำให้ไตสูญเสียการทำงาน และอาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งการเกิดความผิดปกติของไตนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ไม่ได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้วไตก็ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้

ส่วนพิษต่อกระดูก
คือ แคดเมียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูก เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนและอาจมีอาการปวดกระดูกอย่างมากโดยเฉพาะที่กระดูกสะโพก ซึ่งเป็นอาการของโรคอิไต – อิไต โดยคนกลุ่มนี้จะมีอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย

พิษของแคดเมียมยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

นอกจากนี้ แคดเมียมยังมีส่วนที่ทำให้อาการของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เพิ่มขึ้นอีกด้วย



4.อาการต่างๆ เมื่อแคดเมียมอยู่ในระดับที่อันตราย

เมื่อได้รับแคดเมียมในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จะทำให้เกิดอาการต่างๆ

ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก กระดูกเปราะ
ไอ เจ็บคอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปอดอักเสบ
ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วทางเดินปัสสาวะ
โลหิตจาง
ปวดศีรษะ เสียการรับกลิ่น
เพิ่มโอกาสเป็นหมัน
เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งไต มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด

5.แคดเมียมรักษาอย่างไร

ภาวะพิษจากแคดเมียมรักษาอย่างไร
การรักษาประคับประคอง – การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไตวาย การหายใจล้มเหลว
การรักษาจำเพาะ – ในกรณีที่เป็นพิษแบบเฉียบพลัน อาจพิจารณาให้สารทางหลอดเลือด เช่น แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เพื่อไปจับกับแคดเมียมออกจากร่างกาย อาจช่วยลดความรุนแรงของภาวะพิษจากแคดเมียมได้

ส่วนวิธีการรักษา ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ และการให้คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) คือ การกำจัดสารโลหะหนักออกจากร่างกายเพื่อบำบัดภาวะผิดปกติทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับการสะสมและตกค้างของสารโลหะหนักแบบเรื้อรัง 


6.วิธีป้องกันตัวเองจากแคดเมียม

ป้องกันตัวเองจากแคดเมียมได้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารแคดเมียมโดยตรง
หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสารแคดเมียมเป็นเวลานาน
หลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่มาจากพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียม
งดใช้ภาชนะที่มีแคดเมียมปนเปื้อน
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
หากจำเป็นต้องเข้าไปในบริเวณที่มีสารแคดเมียมในอากาศ ควรใส่หน้ากากป้องกันสารพิษ

7.วิธีปฐมพยาบาล 5 ข้อควรทำ หากสัมผัสสารแคดเมียม จากกรมควบคุมโรค

1. หากสูดดม: ให้รีบออกจากพื้นที่ รับอากาศบริสุทธิ์นำส่งแพทย์ทันที
2. หากสัมผัสกับผิวหนัง: ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกหมดทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
3. หากเข้าตา: ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก รีบพบจักษุแพทย์
4. หากกลืนกิน /ดื่ม ให้รีบดื่มน้ำตามทันทีอย่างน้อย 2 แก้ว รีบพบแพทย์ 
5. งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังเกตอาการตนเอง ผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที

 

 

Leave a comment

Name .
.
Message .